หุ่นยนต์ในงานอุตสาหกรรม
1. หุ่นยนต์ที่นิยมใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม
1.1 หุ่นยนต์อเนกประสงค์
เป็นหุ่นยนต์หุ่นยนต์ที่ส่วนใหญ่จะมีลักษณะเป็นแขนกล
ที่หยิบจับส่งต่องานได้อย่างไหลลื่น และยังอาจจะมีการติดตั้งอุปกรณ์พิเศษเพื่องานในบางลักษณะ
เช่น การประกอบชิ้นงานที่มีความละเอียด งานด้านการตรวจสอบต่าง ๆ
ซึ่งโดยปกติแล้วหุ่นยนต์อเนกประสงค์นั้น จะมีลักษณะที่สามารถทำงานในพื้นที่จำกัดได้ดี น้ำหนักเบา และมีความทนทานต่อสภาพแวดล้อม เช่นหุ่นยนต์ Nachi MZ07 ที่สามารถติดตั้งโดยใช้พื้นที่น้อย สามารถทำงานได้ในที่แคม และทำงานได้อย่างรวดเร็ว ยืดหยุ่น รวมถึงตัวเครื่องมีความสามารถในการป้องกันฝุ่น หยดน้ำ รวมถึงยังสามารถที่จะรองรับการทำงานในระบบ Automation อีกด้วย
1.2 หุ่นยนต์จัดเรียงสินค้าและวัสดุ
หุ่นยนต์จัดเรียงสินค้าเป็นหุ่นยนต์ที่นิยมใช้ทั้งในโรงงานอุตสาหกรรม
รวมถึงโกดังต่างๆ โดยเฉพาะ Amazon และ Alibaba ที่มีการพัฒนาหุ่นยนต์จัดเรียงสินค้าในโรงงานของตนเอง
แทนที่จะใช้มนุษย์ในการทำงาน
ซึ่งหุ่นยนต์จัดเรียงสินค้าเองก็มีการงานหลากหลายรูปแบบ แตกต่างกันตามโรงงานและโกดังต่างๆ โดยมีหน้าที่หลักคือ
· จัดเรียงสินค้าลงกล่อง
· จัดทำ Packaging สินค้า
· จัดเรียงกล่องสินค้าลงบนพาเลท
· ยกพาเลทไปตามจุดต่างๆของโรงงาน
· ขนส่งวัสดุต่างๆในโรงงาน
2. หุ่นยนต์ประกอบชิ้นงานหรือชิ้นส่วน รถยนต์
แม้อุตสาหกรรมรถยนต์จะมีความเป็นอัตโนมัติสูง
แต่ก็ยังมีโอกาสในการเติบโตได้อีกมาก
และหุ่นยนต์ร่วมปฏิบัติงานกำลังทำหน้าที่ขับเคลื่อนประสิทธิภาพรูปแบบใหม่ภายในอุตสาหกรรมด้วยการใช้งานต่างๆ
เช่น การป้อนงานให้เครื่องจักร การตรวจสอบ และการประกอบชิ้นส่วนในระบบขับเคลื่อน
อิเล็กทรอนิกส์ และการตกแต่งภายใน
สำหรับ OEM ระดับ Tier 1 ไปจนถึงผู้รับเหมาตลอดห่วงโซ่อุปทาน โคบอทที่มีความยืดหยุ่นและคุ้มค่าได้ช่วยเพิ่มปริมาณผลผลิตและความสม่ำเสมอให้กับส่วนประกอบย่อย
เกณฑ์การวัด และระบบการทำงาน
โคบอทที่ปรับใช้และติดตั้งใหม่ได้ง่ายสามารถตอบสนองความต้องการของอุตสาหกรรมในการผลิตสินค้าตามความต้องการของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว
โคบอทสามารถทำงานเคียงข้างมนุษย์
ช่วยเพิ่มปริมาณผลผลิตและความสม่ำเสมอ ทั้งยังช่วยให้พนักงานทำงานในกระบวนการต่างๆ
ในสายการผลิตได้มากขึ้นในพื้นที่การทำงานเดียวกัน
ในขณะที่ระบบอัตโนมัติแบบดั้งเดิมนั้นทำให้คุณต้องเลือกระหว่างใช้ระบบอัตโนมัติทั้งหมดหรือไม่ใช้เลย
โคบอทกลับช่วยให้ผู้ผลิตเปลี่ยนมาใช้ระบบอัตโนมัติได้ในบางหน้าที่และยังคืนทุนได้เร็วอีกด้วย
3. หุ่นยนต์เก็บกู้ระเบิด
หลักการทำงานของหุ่นยนเก็บกู้ระเบิดพื้นฐานในการตรวจและเก็บกู้ระเบิดทั่วๆ
ไป คือ การรับ-ส่งภาพและหรือเสียง คีบจับทำลายวัตถุต้องสงสัยแล้ว
และมีระบบการควบคุม 2 ระบบ คือระบบการใช้สาย LAN (Local Area Network) และระบบไร้สาย
(Wireless LAN) หุ่นยนต์เก็บกู้ระเบิดนี้
นอกจากจะมีสมรรถนะพื้นฐานทั่วไปแล้ว หน่วยวิจัยฯ
ยังได้มีการปรับปรุงแก้ไขการพัฒนาระบบต่างๆ ติดตั้งเพิ่มเติม
เพิ่มเติมตามความต้องการของผู้ใช้งาน เช่น
อุปกรณ์ติดตั้งปืนฉีดน้ำแรงดันสูง สำหรับทำลายวัตถุต้องสงสัย
อุปกรณ์การควบคุมเส้นทางและเข็มทิศอิเล็กทรอนิกส์
อุปกรณ์การพัฒนาการเก็บและแสดงข้อมูลการเคลื่อนที่ของแขนกล
อุปกรณ์การพัฒนาให้มือจับของตัวหุ่นยนต์สามารถบอกแรงที่ใช้จับวัตถุได้
(Force
Sensor)
อุปกรณ์การส่งข้อมูลและภาพกลับมายังคอมพิวเตอร์ควบคุมด้วยกล้อง 3
มิติ
อุปกรณ์ติดตั้งเพื่อกวาดตะปูเรือใบ
อุปกรณ์ตรวจจับโลหะ เพื่อการสำรวจวัตถุระเบิดที่ฝังในใต้ดิน
อุปกรณ์ x-ray
อุปกรณ์ตรวจสอบวัตถุระเบิด
สำหรับจุดเด่นของหุ่นยนต์ที่ทีมนักวิจัยได้สร้างขึ้น คือ
การใช้อุปกรณ์ที่มีในประเทศ ทำให้สะดวกต่อการบำรุงดูแลรักษารวมทั้งแก้ปัญหาเองได้
ลดการพึ่งพาเทคโนโลยีจากต่างประเทศ
หากหุ่นยนต์โดนระเบิดทำลายหรือได้รับความเสียหายจากการปฏิบัติงาน
สามารถนำกลับมาเพื่อประกอบใหม่ใช้งานรวมทั้งราคาถูกกว่าหุ่นยนต์เก็บกู้ระเบิดที่นำเข้าจากต่างประเทศ
4. หุ่นยนต์อัจฉริยะ
หุ่นยนต์อาจถูกแบ่งออกเป็น 2 ประเภทตามลักษณะการใช้งาน คือ 1.หุ่นยนต์ชนิดที่ติดตั้งอยู่กับที่
(fixed robot) เป็นหุ่นยนต์ที่ไม่สามารถเคลื่อนที่ไปไหนได้ด้วยตัวเอง
มีลักษณะเป็นแขนกล สามารถขยับและเคลื่อนไหวได้เฉพาะแต่ละข้อต่อ
ภายในตัวเองเท่านั้น มักนำไปใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม เช่นโรงงานประกอบรถยนต์ 2. หุ่นยนต์ชนิดที่เคลื่อนที่ได้ (mobile robot) หุ่นยนต์ประเภทนี้จะแตกต่างจากหุ่นยนต์ที่ติดตั้งอยู่กับที่
เพราะสามารเคลื่อนที่ไปไหนมาไหนได้ด้วยตัวเอง โดยการใช้ล้อหรือการใช้ขา
ซึ่งหุ่นยนต์ประเภทนี้ปัจจุบันยังเป็นงานวิจัยที่ทำการศึกษาอยู่ภายในห้องทดลอง
เพื่อพัฒนาออกมาใช้งานในรูปแบบต่าง ๆ เช่นหุ่นยนต์สำรวจดาวอังคาร ขององค์การนาซ่า
ปัจจุบันมีการพัฒนาหุ่นยนต์ให้มีลักษณะเป็นสัตว์เลี้ยงอย่างสุนัข
เพื่อให้มาเป็นเพื่อนเล่นกับมนุษย์ เช่น หุ่นยนต์ IBO ของบริษัทโซนี่
หรือแม้กระทั่งมีการพัฒนาหุ่นยนต์ให้สามารถเคลื่อนที่แบบสองขาได้อย่างมนุษย์
เพื่ออนาคตจะสามารถนำไปใช้ในงานที่มีความเสี่ยงต่ออันตรายแทนมนุษย์ ในประเทศไทย
สถานศึกษาในระดับอุดมศึกษาหลายแห่งหรือองค์กรของภาครัฐ และเอกชน
ได้เล็งเห็นถึงประโยนช์ของเทคโนโลยีหุ่นยนต์
และร่วมเป็นแรงผลักดันให้เยาว์ชนในชาติ พัฒนาองค์ความรู้
เพื่อให้ก้าวทันเทคโนโลยีของประเทศที่พัฒนาแล้ว
โดยการจัดให้มีการแข่งขันหุ่นยนต์ขึ้นในประเทศไทยหลายรายการ
เพื่อให้นักศึกษาได้สามารถ นำความรู้ที่เรียนมาประยุกต์ใช้งานได้
เป็นการเสริมสร้างและพัฒนาทักษะ เพื่อนำความรู้ไปพัฒนาประเทศในอนาคต
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น